ประเพณีตีพิ หรือกินโสลด ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน
สัมผัสดอยสกาด ผ่านประเพณีกินสโลด เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ช่วงเช้าๆ ชาวบ้านจะพากันเข้าป่า เพื่อไปตัดไม้ใผ่ เพื่อทำพิ ประกอบในพิธีกรรม ช่วงบ่ายชาวบ้านก็จะทยอยกันเดินมาจากป่าเข้าสู่หมู่บ้าน เพื่อไปยังบ้านจุดหมายที่ใช้ประกอบพิธี ณ ดอยสกาด ต.สกาด อ.ปัว จ.น่าน นายสมเกียรติ อาจสังข์ นายอำเภอปัว ร่วมงานประเพณีกินสโลด หรือตีพิ โดยมีนายหวน รกไพร นายก อบต.สกาด ผู้นำชุมชน กลุ่มพลังมวลชน พร้อมด้วยนักท่องเที่ยว เป็นจำนวนมากที่ขึ้นมาท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ต่างในงานนี้โดยจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเลี้ยงขวัญข้าวเลี้ยงผีประจำหมู่บ้าน ในช่วงหลังการเพาะปลูกพืชไร่ ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ที่ได้รับฟัง บ้านพิ แบ่งออกเป็น 2 บ้าน บ้านพิจอง คือ บ้านที่พิตกลงมาจากฟ้า ร่วงบนบ้าน จะทำพิกันบนบ้าน บ้านพิหลวง เป็นบ้านที่พิ ร่วงมาจากฟ้าตกถึงพื้นดิน การแห่พิ จะแห่จากบ้านพิจองมาสู่บ้านพิหลวง ระหว่างการแห่ จะมีชาวบ้านร่ายรำประกอบการตีพิ ผ่านตลอดเส้นทางในหมู่บ้าน มีผู้นำขบวน เรียกว่า ข้าวจ่ำ เดินนำหน้า ถ้าข้าวจ่ำหยุดตรงไหน ขบวนก็จะหยุดด้วย และมีการตีพิและร่ายรำ เป็นระยะๆ จนถึงบ้านพิหลวง เพื่อประกอบพิธีกินโสลด และจะนำพิทั้งหมดมากองรวมกันที่บ้านพิหลวง หลังจากนั้นชาวบ้านจะมีการออกไปยังบ้านเรือนต่างๆ เพื่อตีพิและขอข้าวป๋วง ชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งมงคลถ้าได้กินแล้วจะเป็นศิริมงคลต่อตนเองและคนในครอบครัว บ้างก็จะนำไว้ในยุ้งฉาง(ลูนข้าว) ซึ่งเชื่อว่าจะมีข้าวปลาอาหารกินตลอดทั้งปี บ้างก็นำไปไว้ในไร่ข้าวซึ่งเชื่อจะมีผลผลิตอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย อีกทั้งยังเชื่อกันว่าสามารถไล่นกหนูหรือแมลงต่างๆไม่ให้มารบกวน กัดกินและทำให้ข้าวเสียหายอีกด้วย เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนจะมีการฆ่าพิ(ทำลายพิ) ตามประเพณีดั้งเดิม
หมายเหตุ พิ คือ เครื่องดนตรีของชาวลัวะที่ทำขึ้น จากไม้ไผ่(ไม้เฮี๊ยะ) เป็นไม้ไผ่เฉพาะถิ่น จะเล่นเฉพาะในงานโสลดนี้เท่านั้น ประเพณีนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการการเลี้ยงขวัญข้าวเลี้ยงผีประจำหมู่บ้าน ในช่วงหลังการเพาะปลูกพืชไร่ เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน เป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านหยุดพัก อีกทั้งเป็นช่วงฤดูฝนอีกด้วย โดยจะหยุดพักผ่อนเพื่อประกอบพิธีกรรมนี้ในทุกๆปี พิธีโสลดของชาวลัวะสกาด ใช้ระยะเวลาในการจัด 7 วัน (ซึ่งจะไม่นับวันที่ไปเอาพิในป่า)
การนับวันของชาวลัวะ : ใน 1 สัปดาห์ มี 10 วัน ได้แก่ วันขาบ วันดั๊บ วันว้าย วันเมิง วันเพิ๊ก วันคั๊ด วันค๊ด วันล่วง วันเต่า และวันก่า (1 รอบ(สัปดาห์) เท่ากับ 10 วัน, 10 วัน เท่ากับ 1 ขวบ และ 3 ขวบ เท่ากับ 1 เดือน)ตลอดสัปดาห์ ถือว่าเป็นกิจกรรม ที่ช่วยสร้างความสามัคคีกันในหมู่บ้าน หลังจากตลอดทั้งปีมานี้ต่างคนต่างทำมาหากิน ต่างหน้าที่การงานไม่ค่อยมีเวลาพบปะสังสรรค์กัน พิธีกรรมนี้จึงเป็นพิธีกรรมที่สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนปีนี้จัดระหว่างวันที่ 18 – 24 สิงหาคม 2565 วันที่ 24 สิงหาคม ถือว่าเป็นวันสุดท้ายของประเพณี มีขบวนแห่ ช่วงเวลา 10.00 น. เป็นต้นไป และตลอดทั้งสัปดาห์ จะมีกิจกรรมขบวนแห่พิ, พิธีกรรม ตามความเชื่ออื่นๆ สลับกันไป
ประเพณีโสลด ชาวลัวะแห่งจังหวัดน่าน มีเครื่องดนตรีประจำเผ่าเป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ไผ่ กลุ่มปรัย เรียกเครื่องดนตรีของเขาว่า “เประห์” และกลุ่มมัล เรียกว่า “ปิอ์” หรือที่คนเมืองเรียกว่า “พิ” เครื่องดนตรีทั้งสองชนิดนี้ทำจากไม้ไผ่เหมือนกัน แต่มีรูปทรงลักษณะ วิธีการเล่น ตลอดจนโอกาสในการเล่นที่แตกต่างกันออกไป
“พิ” หรือในภาษาลัวะ เรียกว่า “ปิอ์” เป็นเครื่องดนตรีของชาวลัวะมัล ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ตีให้จังหวะ เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินในพิธีโสลดหลวง “พิ” ทำขึ้นจากไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ไม้เฮียะ” พิจัดเป็นเครื่องดนตรีพิเศษของชาวลัวะและประเพณีโสลดของ หมู่บ้านสกาด ต.สกาด อ.ปัว จ.น่าน ได้จัดขึ้นในทุกๆปี
สำหรับประเพณีการกินสโหลด(ตีพิ) วิถีชนเผ่าลัวะ ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน
วันแรกของประเพณี ตีพิ บ้านสกาด ชาวบ้านจะต้องออกจากบ้านตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อเข้าป่าลึกเพื่อหาไม้ไผ่ (ไม้เฮี้ย) ที่จะมาทำเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “พิ”โดยมีหมอผีประจำหมู่บ้านเป็นผู้กำหนด ระหว่างที่เดินทางจะเข้าป่า จะไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพราะว่าถือว่าเป็นการอยู่กรรม เมื่อไปถึงป่าไม้ไผ่ที่เป็น หมอผีจะเป็นผู้ลงมือตัดเป็นคนแรก จากนั้นชาวบ้านก็จะช่วยกันตัด โดยจะเลือกไม้ไผ่ที่มีลำต้นตรงได้ที่ขนาดพอเหมาะ ตัดเป็นปล้องๆ ส่วนใต้ข้อลงไปและเหนือข้อขึ้นไป ขนาดเกือบ 1 ฟุต เมื่อได้ขนาดที่ต้องการตามที่กำหนด จะเจาะรูทั้งสองด้านของปล้องไม้ไผ่ แล้วเหลาไม้ยาวเท่าๆ ขนาดของปล้องไมไผ่ ใช้ เสียบทะลุตรงรูที่เจาะเหนือข้อปล้อง โดยทิ้งปลายไม้ทั้งสองด้าน ปลายส่วนหนึ่งสั้นทำไว้จับ อีกปลายส่วนหนึ่งยาวกว่าไว้ใช้ตี เพื่อทำให้เกิดเสียง จากนั้นชาวบ้าน จะทำการทดสอบโดยใช้ไม้เคาะส่วนปลายไม้ที่ยาวกว่า เพื่อให้เกิดเสียง และความไพเราะ หากไม่ได้ตามต้องการ จะค่อย ตัดปลายไม้ออก จนกว่าจะได้เสียงที่ดีและไพเราะ เมื่อได้ตามต้องการ ชาวบ้านจะทำต่อแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ชาวบ้านคนหนึ่ง จะต้องประกอบพิขึ้นมา และทำให้ครบชุด 1 ชุดหนึ่งจะมี 3 ตัว เพื่อให้เกิดเสียงแตกต่างกัน ชาวบ้านที่เข้าป่าไปเอาพิ มีจำนวนร่วมสองร้อยคน ฉะนั้นเมื่อถึงเวลาที่ทุกคนทดสอบเสียงพิที่ทำขึ้นมา เสียงเคาะจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่งเมื่อทำเสร็จก็จะส่งเสียงพร้อมๆ กันจนเสียงเประห์จะดังก้องกังวานไปทั้งหุบเขา ปีนี้ประเพณี ตีพิ ชนเผ่าลัวะ นี้ที่จัด ขึ้นเป็นเวลา 7 วัน การเดินทาง จากน่าน ไป อ.ท่าวังผา – อ.ปัว ตามเส้นทาง 101 ประมาณ 65 กม. เลี้ยวขวา หน้า อบต.สถาน ใช้เส้นทางหลวงชนบท ไปบ้านนาฝาง เลี้ยวซ้ายมือทางหลวงชนบท นน. 4001 ขั้นไปดอยสกาด ระยะทางร่วม 22 กม. สามารถเยี่ยมชมวิถีลัวะ บนดอย ผ่านประเพณีตีพิ หรือกินโสลด ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ชื่อบุคคลที่ให้สัมภาษณ์
ชาวต่าวชาติ ชื่อ นัท มาจากสวิตเซอร์แลนด์ อาจารย์สอนวิลัยแห่งหนึ่งมาทำวิจัยเรื่องภาษาลัวะ ในพื้นที่ตำบลสกาด อำเภอปัวได้ประมาณ 2 เดือน (สวมเสื้อสีกรม)
นายสมเกียรติ อาจสังข์ นายอำเภอปัว สวมเสื้อ (สีชมพู)
นายประสิทธิ์ วงศ์อรัญ ผญบ.บ้านภูกอก หมู่ 4 ต.สกาด อ.ปัว จ.น่าน ( ผ้าโพกหัวสีแดง)