นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การโควิด-19 ( ศบค.) เปิดเผยว่า การที่เราจะประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นได้ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่วประเทศต้องต่ำกว่า 0.1% เป็นเวลา 2 สัปดาห์ติดกัน แต่ขณะนี้ยังอยู่ที่ 0.31% นอกจากนี้สถานการณ์ในประเทศต้องสอดคล้องกันแต่ปัจจุบันประเทศไทยยังมีสถานการณ์ที่หลากหลาย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. จังหวัดที่สถานการณ์ผู้ติดเชื้อยังเป็นขาขึ้นมี 21 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน แพร่ ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ สกลนคร บึงกาฬ เลยอุดรธานี ขอนแก่น นครพนม หนองคาย ยโสธร มหาสารคาม ศรีสะเกษ นนทบุรี นครนายก กาญจนบุรี และอุทัยธานี
2. จังหวัดที่สถานการณ์ผู้ติดเชื้อทรงตัว 44 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ พะเยา พิจิตร ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สิงห์บุรี ลพบุรี ตาก สมุทรสงครามสมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง สระบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี พัทลุง พังงา ชุมพร ชลบุรี สมุทรปราการ มุกดาหาร ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี ตราด สระแก้ว หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์
3. จังหวัดที่สถานการณ์ผู้ติดเชื้อที่เป็นขาลงแล้ว 12 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี กระบี่ ระยอง ตรัง นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สตูล สงขลา ยะลาปัตตานี และนราธิวาส
“การจะประกาศโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นนั้น อัตราผู้เสียชีวิตถือเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยต้องน้อยกว่า 0.1% เป็นเวลาหนึ่งหรือสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องพยายามทำให้อัตราผู้เสียชีวิตต่ำมากกว่านี้ เพื่อจะได้นำไปสู่การประกาศเป็นโรคประจำถิ่นต่อไป”