วันเสาร์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565, 15.25 น.
‘ไท- ยวนเชียงแสน’ประชุมเชื่อมสัมพันธ์ จัดงานเลี้ยงขันโตกตามประเพณี
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.น่าน ว่า เมื่อช่วงค่ำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ที่บริเวณลานโพธิ์วัดดอนแก้ว ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน นายสุทัศน์ จินตเวชศาสตร์ นายอำเภอท่าวังผา เป็นประธานกล่าวเปิดงานขันโตกไท – ยวน ของสมาคมสมาพันธ์ไท – ยวน แห่งประเทศไทย และ ดร.อุดม สมพร นายกสมาคมสมาพันธ์ไท-ยวน แห่งประเทศไทย , นายสุเมษ สายสูง ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน , นายชัยโรจน์ ชัยสิสรินยาวัชร ประธานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน , นากฤษณ์ ปาคำ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอปัว , นายชาญชัย ลิ้มสุวรรณ รองประธานหอการค้าน่าน และนายสง่า อินยาประธานกลุ่มชาติพันธุ์ ไท-ยวน เชียงแสน จังหวัดน่าน
อุปนายกสมาคมสมาพันธ์ไท-ยวน แห่งประเทศไทย และ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอท่าวังผา ร่วมกับชาวบ้านกลุ่มไท –ยวน หลายจังหวัดได้เดินทางมาร่วมพร้อมเพียงกัน เยี่ยมชมวิถีชีวิต แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและท่องเที่ยวชุมชนไท-ยวน อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งได้กำหนดการประชุมสามัญประจำปี 2565 และการจัดงานข้นโตกไท-ยวน ด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ไท-ยวน เชียงแสน จังหวัดน่าน ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 4 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายจากบ้านดอนแก้ว อำเภอท่าวังผา บ้านดอนแท่น อำเภอเชียงกลาง บ้านผาขวาง อำเภอเมืองน่าน และบ้านน้ำครกใหม่ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
นายสุทัศน์ จินตเวชศาสตร์ นายอำเภอท่าวังผา รับไม้ค้ำสะหลี นำประธาน ไท –ยวน ทั้งกลุ่ม 13 เครือข่าย เดินแถวนำไม้ที่ได้รับมาค้ำสะหลี ทั้ง2 ต้น เพื่อขอพรให้สหพันธ์ ไท – ยวน มีความเจริญรุ่งเรื่องและยั่งยืนตลอดไป เนื่องจากต้นสะหลีคู่ นี้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของไท – ยวนเชียงแสน บ้านดอนแก้ว ชึ่งมีความเชื่อว่าถ้าได้ตานไม้ค้ำสะหลี แล้วจะเป็นการต่อดวงชะตาชีวิตจะมีความรุ่งเรืองมีคนช่วยเหลือค้ำชูตลอด ต้นสะหลี 2 ต้น คือ ต้นโพธิ์เงิน และต้น โพธิ์ทอง นอกจากนี้ยังมี การแสดงฟ้อนที่มาจาก ชมการแสดงชุด “218 ปี ไท-ยวน เชียงแสน จากธานีสู่นันทบุรีศรีนครน่าน” และการแสดงของชาวไท-ยวนลอง จังหวัดแพร่ของไท – ยวน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย การแสดงฟ้อนที่มาจาก ของไท – ยวน ของเยาวชน ไท – ยวน จ.อุตรดิตถ์ การแสดงฟ้อนที่มาจาก พิษณุโลก เมืองงาม ของไท – ยวน สมอแข จ.พิษณุโลก เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของกลุ่มไท – พวน ในครั้งนี้อีกด้วย
สำหรับไท – ยวน นี้ นอกจากจะอาศัยอยู่ทางภาคเหนือในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ และแม่ฮ่องสอน ยังกระจายตัวตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคอื่นอีกอย่างภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ ราชบุรี สระบุรี นครปฐม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน เช่น นครราชสีมา เป็นต้น ปัจจุบัน พบชุมชนของไทยวนกลุ่มเชียงแสนตั้งถิ่นฐานอยู่ ในเขตจังหวัดต่างๆ ดังนี้
จังหวัด สระบุรี อย่างน้อย 114 หมู่บ้านจังหวัด ราชบุรี อย่างน้อย 77 หมู่บ้าน
จังหวัด กาญจนบุรี ย่างน้อย 5 หมู่บ้าน
จังหวัด นครปฐม อย่างน้อย 12 หมู่บ้าน
จังหวัด ลพบุรี อย่างน้อย 51 หมู่บ้าน
จังหวัด พิจิตร อย่างน้อย 8 หมู่บ้าน
จังหวัด พิษณุโลก อย่างน้อย 20 หมู่บ้าน
จังหวัด อุตรดิตถ์ อย่างน้อย 6 หมู่บ้าน
จังหวัด สระแก้ว อย่างน้อย 12 หมู่บ้าน
จังหวัด นครราชสีมา อย่างน้อย 9 หมู่บ้าน
ทั้งนี้ ชุมชนไทยวนเชียงแสนที่เก่าแก่ที่สุดในตอนกลางของประเทศไทย ซึ่ง มีอายุมากกว่า 200 ปี อยู่ในบริเวณอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี และอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยยังรักษาขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของชาวไท-ยวน ไว้อย่างดี มีศูนย์กลางอยู่ที่ ศูนย์อนุรักษ์วัฒนธรรม ไท-ยวน เพื่อใช้เป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้าน เรียนรู้การทอผ้า และการทำอาหารเมนูพื้นถิ่น หวังเผยแพร่แง่งามของวัฒนธรรมและสืบสานให้อัตลักษณ์ไท-ยวน อยู่ในชุมชนต่อไป
-005